10 ข้อควรรู้ก่อนเปิดร้านขายของ ไม่อยากเปิดมาแล้วขาดทุนต้องทำยังไง ?
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ธุรกิจร้านค้าเป็นเป้าหมายของใครหลายๆคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ เพียงแค่มีเงินทุน มีพนักงาน มีทำเลที่ตั้ง ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้แล้ว ปัจจุบัน ก่อนเปิดร้านขายของ ในยุคใหม่นั้น จะต้องมีการผสมผสานระหว่างแบบออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อมอบความสะดวกสบายและประสบการณ์ให้แก่ลูกค้าได้มากที่สุด แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์ร้านขายของออนไลน์ได้รับความนิยมและมีจำนวนที่มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรเปิดหน้าร้านเอง เพราะยังมีลูกค้าบางกลุ่มที่ชอบเลือกดูสินค้าจากการดู สัมผัสโดยตรง และเดินช้อปปิ้งไปเรื่อยๆ
Table of Contents
“ ก่อนจะเริ่มต้น เปิดร้านขายของ ต้องรู้อะไรบ้าง ควรศึกษาอะไรเพิ่มเติมบ้าง หากไม่อยากเปิดมาแล้วขาดทุนต้องทำยังไง ? ”
แต่ในโลกแห่งความจริง การจะทำธุรกิจร้านขายของ หากต้องการให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีการวางแผนที่ดีตั้งแต่ก่อนเปิดร้าน ไม่เช่นนั้นโอกาสที่ธุรกิจจะปิดตัวลง และไปต่อไม่ไหว มีค่อนข้างสูงกว่าการสำเร็จในการเปิดร้าน
1.เลือกคอนเซปต์ของร้านค้าตัวเอง
ก่อนเริ่มต้นเปิดร้าน สิ่งที่เจ้าของร้านควรพิจารณาเป็นลำดับแรก คือ การมีคอนเซปต์ของร้านที่ชัดเจนตั้งแต่แรก เพื่อหาสินค้าและแบรนด์ ที่คอนเซปต์ตรงกัน ซึ่งจะช่วยให้การวางแผนในขั้นตอนอื่นๆทำได้ง่ายขึ้น การที่ร้านขายของมีคอนเซปต์เป็นของตัวเองทำให้ง่ายต่อการจดจำ ตั้งแต่สไตล์การออกแบบ การตกแต่งร้าน การเลือกบรรยากาศภายในให้เหมาะสมในยุคนี้การสร้างร้านค้าให้มีความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จะสามารถดึงดูดความสนใจจากลูกค้า ช่วยให้เราสามารถทราบกลุ่มลูกค้าของเราได้อย่างชัดเจน และสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง
2.การวางผังร้านให้ดึงดูดลูกค้า
การวางผังร้านค้าที่ดีถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ ก่อนเปิดหน้าร้านขายของ ในการจัดการร้านค้าให้มีประสิทธิภาพได้
หลักการออกแบบร้านที่จะนำมาแนะนำ คือ หลักการออกแบบร้านค้าแบบ “อิสระ” การวางผังร้านแบบนี้จะไม่ได้บังคับให้ลูกค้าเดินไปในทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจน แต่ส่วนมากจะเน้นไปที่ความสบายใจของลูกค้า ซึ่งการจัดร้านแบบนี้จะกระจายตัว ทำให้ร้านดูสบายตา มีพื้นที่มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสร้างประสบการณ์ในการช้อปปิ้งที่ดีแก่ลูกค้า
3.การเลือกทำเลที่ตั้ง
การเลือกทำเลที่ตั้ง มักเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องพบเจออยู่บ่อย ๆ ก่อนเปิดร้านขายของ การมองหาทำเลที่ดี เหมาะสมกับหน้าร้าน ควรเป็นที่เดินทางสะดวก ไม่ยุ่งยากและมีที่จอดรถเพียงพอสำหรับลูกค้า อย่างไรก็ตามอย่าลืมเช็คดูว่ามีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจนหรือเปล่าในบริเวณนั้น เพราะถึงแม้ว่าทำเลจะดีแค่ไหนแต่กลุ่มเป้าหมายไม่ตรง อาจทำให้มีจำนวนลูกค้าที่ไม่มากเท่าที่ควร เช่น การเปิดร้านประเภท stationery บริเวณสถานศึกษาจะดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ชัดเจนกว่าแหล่งตลาด และสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามสุดท้าย คือ การสำรวจก่อนว่ามีคู่แข่งมาก-น้อยแค่ไหนในบริเวณนั้น ๆ จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าควรเลือกทำเลไหนที่ตอบโจทย์มากที่สุด
4.คาดการณ์ปริมาณของลูกค้าก่อนเปิดร้านขายของ
คุณลองสังเกตดูว่าทำเลที่คุณ กำลังจะเปิดร้านขายของ นั้นสินค้ามีความตอบโจทย์กับลูกค้าในพื้นที่มาก-น้อยเพียงใด ทำเลที่เปิดมีความเหมาะสมหรือเปล่า และปริมาณลูกค้าที่เข้าร้านอยู่ที่จำนวนเท่าไหร่ ต้องอย่าคาดการณ์ด้วยความรู้สึกเพราะอาจได้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยนจนลูกค้าลดลงได้ ธุรกิจที่ดีควรมีข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นก่อนเปิดร้านค้า ควรศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า รายได้ของลูกค้า ในทำเลที่คุณเปิดร้านเพื่อให้มีข้อมูลที่แม่นยำ และนำมาวิเคราะห์ต่อว่าสินค้าประเภทไหนสร้างยอดขายได้มากที่สุด โดนใจที่สุด หรือต้องการให้บริการเสริมอะไรจึงจะขายได้กำไร โดดเด่น และได้รับความสนใจจากลูกค้าได้มากที่สุด
5.วิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้วยแผนธุรกิจ
การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ก่อนการจะเปิดหน้าร้าน เจ้าของกิจการต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการตลาด วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินในร้าน เป้าหมายที่ชัดเจนและความสามารถในการแข่งขัน การมีการวางแผนที่ดีตั้งแต่แรกสามารถทำให้เราได้เปรียบคู่แข่ง วิเคราะห์จุดแข็ง-อ่อน ของตัวเอง และคู่แข่ง เพื่อหาความโดดเด่นของธุรกิจเรา ดังนั้นเมื่อศึกษาความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจเราแล้ว จะต้องคิดในแง่ของ ยอดขายที่ได้ กำไร การคืนทุน และความพึงพอใจของลูกค้า
6.ขายสินค้าในราคาที่เป็นธรรม
ทุกคนล้วนก็ชอบแต่ของดีมีคุณภาพ ในราคาที่จับต้องได้ง่ายกันทั้งนั้น การตั้งราคาที่สูงเกินไปจึงไม่ใช่เรื่องที่ดีนักเมื่อเปิดร้านและก็ไม่ควรตั้งในราคาที่ต่ำเกินไป จะได้ไม่ขาดทุน ในช่วงแรกก่อนเปิดร้านค้า การศึกษาตลาดเพื่อนำมาตั้งราคาสินค้าในราคาที่เป็นธรรมกับลูกค้าจึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่งในการตั้งราคาขาย ลองหาราคาสินค้าโดยเฉลี่ย เปรียบเทียบราคาสินค้าประเภทเดียวกันทั้งจากทำเลใกล้ๆ ราคาออนไลน์ และศึกษาจากคู่แข่งเพื่อสำรวจราคา จากนั้นตั้งราคาเฉลี่ยกลาง ๆ ให้ใกล้เคียงเพื่อให้ราคาสมเหตุสมผลกับคุณภาพของสินค้าที่มีจะช่วยให้ร้านของคุณน่าสนใจมากขึ้นในมุมมองของลูกค้าและทำให้ลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนอีกด้วย
7.การเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ
ก่อนผลิตสินค้านั้น นอกจากคุณภาพของสินค้าที่ก่อนสั่งต้องดูตัวอย่างและมีการเช็คอย่างละเอียดแล้ว ร้านค้าต้องมั่นใจในระดับหนึ่งในการเลือกผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือ ซึ่งอาจมีการทำสัญญาสั่งซื้อที่มีข้อกำหนดชัดเจน มีการผลิตสินค้าครบตามจำนวน และส่งมาให้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด เพราะหากหน้าร้านเกิดขายดีขึ้นมาแล้วสินค้าหมด แล้วผู้ผลิตไม่ส่งสินค้ามาเติมเป็นเวลานาน เลทจากระยะเวลาที่กำหนดหลังการสั่งซื้อ ร้านอาจขาดรายได้ และอาจถึงกับต้องปิดร้านชั่วคราว หากสินค้าในร้านมีน้อยเกินไป ดังนั้นข้อหลักๆ ที่ร้านค้าควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจสั่งซื้อ หรือผลิตสินค้ากับที่ไหนมีทั้ง คุณภาพ ความคุ้มค่า ความสะดวก ความน่าเชื่อถือ และการรักษาคุณภาพการผลิตไม่ให้ลดลง ซึ่งก็ต้องมีการประเมินควบคู่ไปกับการคาดการณ์จำนวนยอดขายสินค้าส่วงหน้าด้วย โดย MultiOne เรามีระบบรายงานยอดขายแบบ Real-time ที่ช่วยให้ทั้งหน้าร้านค้าและแบรนด์ที่ฝากขายวิเคราะห์ได้ว่า สินค้าไหนไกล้หมดควรสั่งเพิ่มในตอนไหน และสินค้าไหนขายไม่ดีบ้าง เพื่อวิเคราะห์ว่าทำไมถึงขายไม่ดี ควรพัฒนาสินค้าไปในทิศทางไหน
การรับฝากขายสินค้าผ่านระบบ MultiOne นั้นยังช่วยลดความเสี่ยงในการลดทุนผลิตสต๊อกสินค้าจำนวนมากจากการฝากขายสินค้าจากแบรนด์ออนไลน์ เพราะการรับฝากขายนั้นนอกจากจำได้เปอร์เซ็นจากกำไรที่ขายได้แล้ว ยังมีโอกาสได้ค่าเช่าที่เพื่อลงฝากขาย ทำให้ร้านค้ารู้ว่า ลูกค้าประจำชอบสินค้าประเภทไหน สินค้าขายดี ก่อนตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมด้วย
8.การจัดการวางแผนการทำงานและจำนวนของพนักงาน
จัดว่าเป็นปัญหาหลักข้อนึงสำหรับร้านค้าที่เปิดใหม่ ที่มีระยะเวลาการเปิดร้านนานๆ ซึ่งต้องมีการจ้างงานหลายกะในการขายของและเผื่อสำรองหากพนักงานลาป่วย หรือลาออก ซึ่งต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการจ้างพนักงานพาร์ททาม และการเทรนพนักงานให้ได้มาตรฐานการทำงาน การบริการในระดับตามที่ต้องการ ในการกำหนดงบประมาณว่าร้านค้าควรจ้างพนักงานมากแค่ไหนรวมแล้วนั้นไม่ควรเกิน 20% ของรายได้ต่อเดือนจากยอดขาย ซึ่งก็ต้องมีการประเมินจากจำนวนงานโดยรวมที่ได้รับ ขนาดร้าน และลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการต่อวันด้วยว่า ก่อนเปิดร้านค้า นั้นมีการคาดการณ์จำนวนงาน และผู้เข้ามาใช้บริการเท่าไหร่ และเพิ่มขึ้นหลังจากเปิดใช้บริการเท่าไหร่ ต้องการพนักงานเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ตามการเติมโตของร้านค้า
9.การวางแผนการตลาด
ก่อนการจะเปิดร้านค้านั้น การวางแผนการตลาดให้เหมาะสมกับร้านค้านั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ ซึ่งในจุดที่บริษัทส่วนมากมักทำพลาดนั้นคือการกำหนดงบการตลาด และกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน ซึ่งต้องวางแผนล่วงหน้าและกำหนดรูปแบบสื่อให้ชัดเจนเช่น ทำสื่อแบบไหนในการทำโพสประจำ จ้างอินฟลูเอนเซอร์คนไหนจะส่งผลให้ยอดขายดีขึ้น จัดโปรโมชั่นยังไง ช่องทางไหนที่กลุ่มลูกค้าที่มีโอกาสซื้อสินค้ามากที่สุดใช้งาน ใช้งานในช่วงเวลาไหนบ่อยที่สุด ซึ่งต้องมีการจัดสรรงบประมาณในด้านต่างๆให้เหมาะสมในระยะยาว ดังนั้นการทำแผนการตลาดจึงควรทำออกมาเป็นแผนประจำวัน ประจำเดือน และประจำปี พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายของแต่ละแคมเปญหรือคอนเทนต์ให้ชัดเจน
10.การลองทดสอบใช้ระบบจริง
ก่อนเปิดให้บริการขายจริง ร้านค้าควรทดสอบใช้งานระบบทุกอย่างเสมือนเปิดร้านจริง เพื่อทดสอบว่าระบบต่างๆ ว่ามีจุดไหนที่ยังไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานที่ตั้งไว้อีกบ้าง และมีจุดไหนที่ต้องปรับให้เข้ากับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ หรือจุดไหนที่ต้องการพัฒนาให้เข้ากับร้านค้า ทำให้การให้บริการไม่ติดขัด
ซึ่งในจุดนี้หากเป็นพาร์เนอร์ของ MultiOne สามารถหมดห่วงไปได้เลยเพราะว่าหลังจากสมัครเป็นพาร์เนอร์กับระบบ MultiOne แล้ว เราจะมีแถม Demo account เพื่อให้ร้านค้านำไปลองเทสใช้ระบบทั้งหมดได้เหมือนกับระบบจริง ก่อนจะเปิดหน้าร้านขายจริง ไม่เพียงแค่นั้นทางแพลตฟอร์ม MultiOne ที่พัฒนาระบบมาเพื่อให้ตอบโจทย์ร้านค้ามัลติแบรนด์ และร้านค้ารับฝากขายนั้นยังพัฒนาระบบใหม่ๆ อัพเดทให้ร้านค้าพาร์ทเนอร์เราเรื่อยๆ และยังรับ requirement จากร้านค้าพาร์ทเนอร์ในการพัฒนาระบบตามที่ร้านค้าต้องการ เพื่อให้ตอบโจทย์ร้านค้ายุคใหม่ และทำให้พาร์ทเนอร์ของระบบเราใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
บทความแนะนำ
- ก่อนที่จะรับ ฝากขายสินค้า ร้านค้าควรจะรู้อะไรบ้าง ?
- เลือกหน้าร้านฝากขายอย่างไรให้ปัง
- จะเปิดหน้าร้านทั้งที ควรเลือกทำเลที่ตั้งแบบไหนดีนะ
- 5 เคล็ดลับการจัดการกระแสเงินสดของร้านค้าให้มีประสิทธิภาพ
- จัดร้านอย่างไร? ให้ยอดขายพุ่ง เพิ่มยอดขายหน้าร้านด้วยหลักจิตวิทยา
MultiOne Platform เพื่อนที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจคุณ
แพลตฟอร์มจัดการร้านมัลติแบรนด์ ร้านค้าปลีกและร้านค้ารับฝากขายสินค้าจากหลายแบรนด์ ที่จะมาช่วยให้การจัดการร้านค้าสะดวกสบายขึ้น ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน ลดความผิดพลาดการจัดการสินค้า เพิ่มรายได้ และประเภทของสินค้าภายในร้าน จากการรับฝากขายสินค้าจากแบรนด์ดังในระบบ
แหล่งพบปะของร้านค้าออนไลน์ และออฟไลน์ พาร์ทเนอร์ที่ช่วยให้คุณขายได้มากขึ้น ผ่านการฝากขายยุคใหม่
การันตีด้วยพาร์ทเนอร์ร้านค้าดัง ขายดีที่ใช้ระบบมากกว่า 30 ร้านค้า และแบรนด์ดังที่ฝากขายผ่านระบบมากกว่า 2,000 แบรนด์
ระบบฟังก์ชันหลักสำหรับร้านค้าพาร์ทเนอร์ของ MultiOne ที่ช่วยให้การบริหารจัดการร้านค้าเป็นเรื่องง่าย
- ระบบ POS แคชเชียร์และจัดการร้านค้าใช้งานง่าย
- จัดการสต็อกสินค้า แยกรายแบรนด์ เช็คสะดวก
- ร้านจัดการส่วนลด โปรโมชั่นร่วมกับแบรนด์ได้หลากหลาย
- ออกบาร์โค้ด เชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องยิงบาร์โค้ด
- มีระบบการใช้งานสำหรับพนักงาน
- ออกเอกสารทางบัญชี
- ระบบ Import Export ข้อมูล
- จัดการข้อมูลลูกค้า และสินค้า
- ระบบวิเคราะห์ข้อมูลยอดขายรายวัน รายเดือน แยกรายแบรนด์
- วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและช่องทางจำหน่าย
และเรายังมีฟังก์ชันอีกมากมายสำหรับแบรนด์สินค้าที่มาลงฝากขาย ด้วยระบบที่ออกแบบมาให้ร้านค้าเจอกับแบรนด์ง่ายขึ้น ลดขั้นตอนการส่ง เช็ค และจัดการสินค้าฝากขาย ร้านค้าสามารถเลือกพาร์ทเนอร์ที่เหมาะสมกับหน้าร้านของคุณได้ง่าย ๆ ผ่านระบบบนแพลตฟอร์มของเรา
สนใจเป็นร้านค้าพาร์ทเนอร์ คลิกที่นี่ (https://multioneapp.com/shoppage/)
สนใจลงฝากขายสินค้า คลิกที่นี่ (https://multioneapp.com/brandpage/)
หรือ INBOX สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยที่ MultiOne (https://bit.ly/3GwfF4d)