6 แนวทาง สู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจยุค 2020
อัพเดทเทรนด์ปัจจุบันก่อนมุ่งสู่ความสำเร็จ 2020
ทุกคนลองคิดทบทวนดูซิครับว่าประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมา หลังจากเจ้าเชื้อโรค Covid-19 เข้ามาปั่นป่วนชีวิตความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจของพวกเรา ตอนนี้ธุรกิจมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดกันไปอย่างไรแล้วบ้าง ? พอหันไปทางซ้ายก็เจอธุรกิจอาหารเปิดใหม่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด หันไปทางขวาก็เจอธุรกิจขายผ่าน Online ทำ Delivery ส่งถึงบ้านลูกค้า ย้อนกลับมามองใกล้ตัว พ่อ แม่ ญาตพี่น้องก็เริ่มทำอาหาร ทำขนม เตรียม Delivery ส่งขาย
สรุปง่ายๆ เลยนะครับ คือ ธุรกิจใหม่ขนาดเล็กมีแนวโน้มเกิดขึ้นสูงมากจากภาวะตกงาน และขาดรายได้ ธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ทุนยังน้อย ส่วนใหญ่แล้วก็ไม่มีหน้าร้าน ดังนั้นนั้นต้องปรับตัวเข้าสู่ Online แบบเต็มตัว
สำหรับบทความนี้ ผมได้รวบรวมข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ตรงจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ในภาวะนี้มาให้ทุกๆ คนได้อ่านกันนะครับ เชื่อว่าหากลองทำตามดูแล้ว จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจของทุกๆ คนยืนหยัดได้ในปัจจุบันไม่มากก็น้อยนะครับ
6 แนวทาง สู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจยุค 2020
Powered by ReCute – Multi-brand Business & New Retail Platform
1. เริ่มจาก First Impression ของสินค้า
สินค้ายี่ห้อใหม่แกะกล่องที่ทุกคนไม่รู้จักมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ขนม หรือของใช้ก็ตาม ถ้าต้องการจะยืนหยัดบนตลาดให้ได้ คุณอาจตัดสินใจเลือกได้ว่าจะสู้ด้วยจุดเด่นในด้านไหน? ระหว่างคุณภาพ และปริมาณ ทีนี้กลับมามองที่ตัวเรา ถ้าเราจะแข่งที่ราคา คือขายราคาถูกๆ กำไรน้อยๆ คุณภาพเฉยๆ แต่ขายปริมาณเยอะๆ ลองถามตัวเองดูครับว่า สำหรับ Brand ที่เพิ่งเริ่มต้น และ Brand ที่มีมาก่อนอยู่แล้ว ความน่าเชื่อถือแบบไหนจะมากกว่า ส่วนตัวของผมเองเลย ผมก็จะเลือกสิ่งที่ดูน่าเชื่อถือมากกว่านั่นเอง ดังนั้นเคล็ดลับข้อแรกนี้จึงขอแนะนำไว้เลยว่า คุณภาพของสินค้าต้องมาก่อน ถ้าสามารถสร้างความประทับใจให้ลูกค้าในครั้งแรกได้ ครั้งต่อไปย่อมมีโอกาส หรือดีไปกว่านั้น คือสิ่งที่เราเรียนกติดปากกันว่า “Word of Mouth” หรือ การบอกต่อสรรพคุณสินค้าของเราไปเรื่อยๆ โดยลูกค้าของเรา
2. คุณค่าที่ลูกค้าได้รับคืออะไร ?
ทำไมคนถึงยอมจ่ายเงิน 100 บาทเพื่อซื้อกาแฟสตาร์บัค ? ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วคุณภาพอาจไม่ต่างกับกาแฟ Homemade ที่เลือกใช้เมล็ดกาแฟคุณภาพดีราคา 50 บาท นั่นเป็นเพราะว่าใน 100 บาท ที่ลูกค้าจ่ายไป เขายอมรับได้ แล้วที่เขายอมรับได้เป็นเพราะมันมีคูณค่าแฝงอยู่ในนั้นครับ เพราะ 100 บาทไม่ใช่ค่ากาแฟทั้งหมด แต่ยังแฝงถึงความหรูหราของ Brand สตาร์บัค รวมถึงที่มาของการได้มากาแฟแต่ละแก้วนั้น คือการช่วยเหลือชุมชนบนดอยอีกด้วย กลับมาที่ Brand ของเรากัน หากเราไม่สร้างคุณค่าสินค้าของเราขึ้นมา มันก็จะไม่ต่างอะไรกับสินค้าอื่นๆ เลย คุณค่าที่สามารถสร้างขึ้นได้ก็มีหลายหลายเลยครับ อาจจะเป็นวัตถุดิบที่เราเลือกใช้ ความเชี่ยวชาญของผู้ทำ ความตั้งใจ ความพิถีพิถันกว่าจะมาเป็นสินค้าของเรา และอื่นๆ ถ้ายังคิดไม่ออก ทางที่ผมแนะนำ และง่ายที่สุดเลยก็คือ สร้างเรื่องราวให้สินค้าเราน่าสนใจ (ใช้ทักษะขี้โม้อย่างสร้างสรรค์นะครับ)
3. มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
ต่อเนื่องจากข้อที่สองที่ผ่านมา เรามองคู่แข่งในตลาดของเราเป็นกรณีศึกษาได้ แต่ละเจ้าย่อมมีคุณค่า จุดเด่นที่แตกต่างกัน เราอาจจะหยิบจุดที่ดีมาอย่างละเล็ก อย่าละน้อย และนำมาพัฒนาธุรกิจให้เป็นเอกลักษณ์ของเราเอง เอกลักษณ์ที่กำลังอธิบายอยู่นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ตัวสินค้าเท่านั้นนะครับ แต่ยังรวมไปถึงช่องทางการขาย การติดต่อกับลูกค้า การ Delivery รวมถึงการเก็บ Feedback คำติชมต่างๆ จากลูกค้าด้วย ให้ลองคิดโมเดลธุรกิจออกมาเลยครับ ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต การทำ Package การโปรโมท การขาย การขนส่ง จนไปถึงการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนา
4. ทำให้ลูกค้ามองเห็นเรา
ถ้าเป็นวิธีในอดีตก็คงต้องหาสถานที่ตั้งบูธ จัดโปรโมท ทำป้ายโฆษณา แจกโบรชัวร์ โฆษณาผ่านวิทยุ เป็นต้น แต่ละวิธีนับได้ว่าต้องใช้ต้นทุนที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม โชคดีแล้วหละครับที่ยุคนี้เราสามารถจัดการให้สินค้าเราถูกมองเห็นได้บนช่องทาง Online สำหรับการเริ่มต้นนั้นมันยากจริงๆ แหละครับที่จะให้ลูกค้าหันมาสนใจถ้าของของคุณไม่เด็ดจริง ดังนั้น Connection นี่แหละครับจะช่วยคุณได้ดีเลย เริ่มจากขายให้กับคนรู้จักก่อนทั้ง Post ผ่านออนไลน์ และ ขายต่อหน้าด้วยโดยตรง สิ่งที่เราคาดหวังจากสิ่งเหล่านี้ คือการบอกต่อครับ หากสินค้าเรามีคุณค่า สร้างความประทับใจได้จริง มันจะถูกโยกต่อเป็นลูกโซ่ และขายได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงจุดนั้นแล้ว เราก็จะเริ่มมีงบลงทุนทำการตลาดแล้ว ให้ลองดูครับว่าจะเลือกจ้างคนโปรโมท หรือคุณจะลงมือทำเอง หากต้องการทำเองผ่านช่องทาง Online ก็ต้องมีเวลาศึกษา และต้องมีการลองผิดลองถูกนะครับ ถ้าจับทางได้ก็ไปโลดเลย
5. สร้าง Brand ให้ลูกค้าติด
หาลูกค้าใหม่เรื่อยๆ เราสามารถหาได้แน่นอนอยู่แล้ว ด้วยความอยากรู้อยากลองสินค้าใหม่ของลูกค้า แต่สิ่งที่เราจะต้องบริหารควบคู่กันไปให้ดี เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจของคุณ คือทำให้ ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าของคุณซ้ำๆ สิ่งที่ที่จำทำให้เกิดกระบวนการนี้ขึ้นมาก็ต้องย้อนกลับไปที่ข้อที่ 2 ครับ นั่นก็คือ คุณค่าที่ลูกค้าได้รับมันเพียงพอไหมที่จะทำให้เขากลับมาอุดหนุนเราอีกครั้ง ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นจะเป็นช่วงเวลาที่ท้าทาย และใช้เวลานานที่สุด ให้เราวางแผนให้ดีไว้แต่แรกเลยครับ ไม่เช่นนั้นแล้วหากทำไปได้ซักระยะหนึ่ง เราจะเกิดอาการลังเล ว่าสิ่งที่ทำมันถูกไหม? มันจะไปรอดหรือ? อย่าลืมคุณค่าที่เราจะมอบให้กับลูกค้าครับ เพราะมันเป็นพื้นฐานของ Brand ของเราเลยอย่างแท้จริง
6. ข้อมูล และประวัติลูกค้า อย่าให้หาย
ยุคปัจจุบันธุรกิจไม่ว่าเล็ก หรือใหญ่แข่งขันกันที่ Data ของลูกค้าเป็นหลัก หากเรารู้ความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้ว่าเขามีความสนใจ จะตัดสินใจซื้อเวลาไหน อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาซื้อ ผมบอกได้เลยครับว่าจบ ขายได้แน่นอน หน้าที่ของธุรกิจก็แค่ทำสิ่งที่ตอบโจทย์ในความต้องการเหล่านั้น การจะได้มาซึ่งลูกค้ากลุ่มดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่การจะไปถึงจุดนั้นได้ ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ครับ ข้อมูลลูกค้ามีความสำคัญเป็นอย่างมากจริงๆ ในช่วงแรกเอาอาจเก็บได้ใน Program Microsoft Excel หรือ อื่นๆ แต่เมื่อข้อมูลมันมากขึ้นเรื่อยๆ คุณจะต้องหาระบบจัดการที่ตอบโจทย์
ทิ้งท้ายให้อีก 1 สุดยอดเคล็ดลับนะครับ หากเรามั่นใจแล้วว่าคุณค่าของสินค้าเราดี ในเรื่องการโปรโมท และการขายนั้น เราสามารถมองหาร้านประเภทฝากขาย หรือ Multi-brand ได้ครับ เทรนด์ปัจจบันธุรกิจประเภทนี้กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะลงทุนน้อย ไม่ต้อง stock สินค้าเอง แต่ทำหน้าที่เป็นช่องทาง หรือตัวแทนขายให้กับ Brand ต่างๆ เรื่องความปลอดภัยของร้านเราก็ต้องดูให้ดีครับว่า เราสามารถตรวจสอบสินค้าของเราได้ไหม ร้านมีการจัดการอย่างไร รวมถึงร้านมีระบบที่น่าเชื่อถือปลอดภัยหรือไม่ หากร้าน หรือ Brand ติดปัญหาการจัดการดังกล่าว สามารถให้ ReCute – ระบบจัดการร้านฝากขาย และ Multi-brand ยุคใหม่ เข้ามาช่วยจัดการได้เลยครับ บอกได้เลยว่าระบบคุณภาพดีเยี่ยม ราคาเข้าถึงได้ และที่สำคัญคือบริหารจัดการได้อย่างสะดวกสบายทั้งร้าน และแบรนด์ ครับ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Multibrand ได้ที่ ลิงค์ : Multi-Brand Store เทรนด์มาแรงของร้านค้ายุคใหม่
ติดตามผลงานของพวกเราได้ทาง Facebook Page : ReCute