“Business Partners” ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนกับพันธมิตรทางธุรกิจ
“Business Partners” ด้วยเทคโนโลยีและการเรียนรู้ การเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายขึ้น ส่งผลให้มีการแข่งขันที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะด้านนวัตกรรม ความเข้าใจตลาด ความแปลกใหม่ของสินค้า หรือความที่มีเอกลักษณ์ของสินค้า แต่บางครั้ง จุดแข่งเหล่านี้ก็ยังไม่เพียงพอให้ธุรกิจเติบโต วันนี้น้องมัลตี้ขอแนะนำ “Business Partners หรือ พันธมิตรทางธุรกิจ” ที่จะมาช่วยให้ธุรกิจของเพื่อน ๆ เติบโตได้อย่างยั่งยืน
มาเริ่มกันที่ “Business Partners หรือ พันธมิตรทางธุรกิจ” คืออะไร?
Business Partners หรือ พันธมิตรทางธุรกิจ ก็คือผู้ประกอบการธุรกิจเริ่มตั้งแต่ 2 กิจการขึ้นไปทำสัญญาที่จะร่วมลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไรร่วมกัน พึ่งพากัน เป็นคู่ค้าที่ดีต่อกัน ช่วยกันส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน มีการกำหนดหน้าที่และการทำงานร่วมกันของคู่ค้า ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งรายได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันที่กิจการจะได้รับ ร่วมกับบริษัทคู่ค้าอีกด้วย
อยากมี “Business Partners” ต้องทำยังไง?
1. ธุรกิจของเราและพาร์ทเนอร์ จะต้องส่งเสริมกัน
น้องมัลตี้แนะนำว่า เพื่อน ๆ ควรสำรวจตลาดและคัดเลือกว่าแบรนด์ไหน ธุรกิจไหน ที่เหมาะสมหรือมีความใกล้เคียงกันกับธุรกิจของเพื่อน ๆ ใครที่เหมาะจะมาเป็นพาร์ทเนอร์กับเราได้บ้าง ใครที่จะช่วยให้เราเติบโตหรือเราสามารถช่วยใครเติบโตได้บ้าง การจะมาเป็นพาร์ทเนอร์กัน ควรจะเป็นความสัมพันธ์ที่ win – win กันทั้งสองฝ่าย ช่วยส่งเสริมกันและกัน
หากใครที่ไม่รู้จะเริ่มยังไง MultiOne – Platform สามารถช่วยเพื่อน ๆ ได้นะ เพราะน้องมัลตี้และทีมงานได้คิด คัดสรรไว้แล้วว่าธุรกิจแบบไหน สินค้าแบบไหน ควรมีพาร์ทเนอร์เป็นใคร พวกเรายินดีช่วยเหลือเพื่อน ๆ และให้คำปรึกษากันแบบฟรี ๆ !!!
2. ออกแบบ “Business Model” ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งสองฝ่าย
รูปแบบของ Business Model
2.1 การเสนอผลประโยชน์ให้แก่พาร์ทเนอร์ ในกรณีที่พาร์ทเนอร์สามารถหาลูกค้าได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำอะไร
เพื่อน ๆ อาจจะคุ้นเคยคำว่า ‘นายหน้า’ หรือ ‘เซลล์’ หากว่าพาร์ทเนอร์เราสามารถหาลูกค้ามาได้ ปิดการขายได้ เพื่อน ๆ อาจจะเสนอค่าตอบแทนมาในรูปแบบของค่าเงินแนะนำหรือค่าคอมมิชชั่น เราจะเป็นคนจัดการหลังการขายทั้งหมด ส่วนพาร์ทเนอร์ของเราก็จะได้ผลประโยชน์โดยที่ไม่ต้องทำอะไร win – win กันทั้งสองฝ่าย ทั้งเราและพาร์ทเนอร์
2.2 การขายสินค้าหรือบริการของเราให้กับพาร์ทเนอร์ โดยพาร์ทเนอร์สามารถทำกำไรหรือมีสินค้าเพิ่มจากเรา
ในกรณีที่เพื่อน ๆ เป็นผู้ผลิต พาร์ทเนอร์ของเพื่อน ๆ สามารถนำสินค้าไปขายต่อ ซึ่งราคาที่เราขายให้พาร์ทเนอร์ควรเป็นราคาพิเศษ มีกำไรให้พาร์ทเนอร์ เพื่อช่วยให้พาร์ทเนอร์ของเรามีความต้องการในการขายสินค้าของเพื่อน ๆ มากยิ่งขึ้น
ส่วนในกรณีที่เพื่อน ๆ ต้องการสินค้าจากพาร์ทเนอร์มาขาย ในส่วนนี้อาจจะมีการตกลงกันในเรื่องของค่าคอมมิชชั่น หรือค่า GP กับการฝากขายในกรณีที่เพื่อน ๆ ไม่อยากสต็อกสินค้าเอง วิธีนี้ก็เพิ่มกำไรและสร้างยอดขายเพิ่มเติมให้กับพาร์ทเนอร์ของเราเช่นกัน
2.3 หาพาร์ทเนอร์ที่สามารถทำในส่วนที่เราต้องการลดต้นทุน
รูปแบบนี้เหมาะสำหรับส่วนงานที่เพื่อน ๆ ต้องการลดต้นทุน ไม่อยากแบกรับภาระ หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในส่วนงานนั้น ๆ โดยเพื่อน ๆ สามารถหาคู่ค้าที่เข้ามารับงานในส่วนนั้นแทนได้ อาจเรียกได้ว่าเป็นคู่ค้าที่ให้บริการในแง่ของ ‘Outsource Service’
3. ทำสัญญาข้อตกลงต่าง ๆ เป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนทุกครั้ง
เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียผลประโยชน์หรือเกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน ขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ควรทำ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายมากที่สุด ซึ่งทาง MultiOne – Platform ก็ได้มีรูปแบบของสัญญาที่ได้จัดทำขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทั้งเพื่อน ๆ และพาร์ทเนอร์ ได้มาทำข้อตกลงร่วมกัน เพียงแค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ เพียง 1 คลิก ก็สามารถทำสัญญาได้ทันที ไม่ต้องรอ!
เรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค ผ่านเครื่องมือตัวช่วยทำการตลาดออนไลน์
4. มีระบบการบริหารจัดการคู่ค้าทางธุรกิจแบบมืออาชีพ
ในกรณีที่มีผู้สนใจมาเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับเพื่อน ๆ มากมาย น้องมัลตี้ขอแนะนำให้เพื่อน ๆ จะต้องมีระบบที่ช่วยให้เพื่อน ๆ จัดการกับพาร์ทเนอร์ได้ง่ายขึ้น เช่น
– กำหนดยอดขายให้กับพาร์ทเนอร์อย่างยุติธรรม
หากพาร์ทเนอร์รายไหนทำยอดขายได้มาก เพื่อน ๆ อาจจะมอบสิทธิพิเศษในเรื่องของราคาให้แก่พาร์ทเนอร์รายนั้น
– การจัดการลำดับความสำคัญของพาร์ทเนอร์
แบ่งพาร์ทเนอร์ออกเป็นลำดับ โดยประเมินจากยอดขาย จำนวนลูกค้า วิธีการทำงาน สินค้า เป็นต้น
– อาจจะมีกิจกรรมมอบรางวัลให้กับพาร์ทเนอร์
เพื่อกระตุ้นยอดขายและก่อให้เกิดการแข่งขันระหว่างพาร์ทเนอร์กันเอง
– มีทีมงานที่ช่วยบริหารพาร์ทเนอร์ของเพื่อน ๆ โดยเฉพาะ
‘ผู้รักษาผลประโยชน์’ จะเป็นตัวแทนให้กับบริษัทเพื่อน ๆ ในการดูแลพาร์ทเนอร์แต่ละราย และคอยต่อรองผลประโยชน์ให้ลงตัว ชื่อตำแหน่งมักเรียกว่า ‘Partner Account Manager’ หรือ ‘Channel Account Manager’ เป็นต้น
“…การเลือกคู่ค้าที่ดีและเหมาะสมไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากคัดเลือกคู่ค้าที่ดีได้ จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง
อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้คุณเติบโต ทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีของคู่ค้าทั้งสองมั่นคงและยั่งยืน…”
จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา น้องมัลตี้คิดว่ามีประโยชน์มากเลยทีเดียวสำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังมองหาความก้าวหน้าทางธุรกิจที่มั่นคงและยั่งยืน แต่ในเรื่องของธุรกิจ หากมีความผิดพลาดนั่นหมายถึงเม็ดเงินที่สูญเสียไป น้องมัลตี้จึงขอนำเสนอ MultiOne – Platform แพลตฟอร์มที่จะช่วยจับคู่พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของเพื่อน ๆ ให้ง่ายมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องหาข้อมูลเอง ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลเอง เพราะทีมงานของเราได้วิเคราะห์และเตรียมข้อมูลที่จำเป็นไว้ให้เพื่อน ๆ นักธุรกิจกันหมดแล้ว อีกทั้งตัวแพลตฟอร์มก็ใช้งานง่ายอีกด้วย
หากเพื่อน ๆ มีความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของ “Business Partners หรือ พันธมิตรทางธุรกิจ” หรืออยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อมาได้ที่ MultiOne – ระบบจัดการร้านมัลติแบรนด์ หรือใครที่พร้อมแล้วกับการเป็นพาร์ทเนอร์หรืออยากหาพาร์ทเนอร์ ก็ติดต่อมาได้เช่นเดียวกัน น้องมัลตี้และทีมงานพร้อมซัพพอร์ตตลอดเวลา
อ้างอิง
กูนี่แหละเซลล์ร้อยล้าน./ (2561)./ วิธีการหา Business Partner ที่ช่วยให้คุณรวยง่ายขึ้น./ วันที่สืบค้น 17 สิงหาคม 2564./ เว็บไซต์: https://bit.ly/2XnbYuT
Adminzoe./ (2561)./ ทำไมต้องมี Business Partner?./ วันที่สืบค้น 17 สิงหาคม 2564./ เว็บไซต์: https://bit.ly/3k37BwD
Moneywecan./ (ไม่ทราบปีที่แต่ง)./ “พันธมิตรทางธุรกิจ” ความได้เปรียบทางการค้าที่ยั่งยืน./ วันที่สืบค้น 17 สิงหาคม 2564./ เว็บไซต์: https://bit.ly/3xVAIHj