Stationary กับ 5 สิ่งที่ควรรู้ เมื่ออยากเปิดร้าน
เมื่อพูดถึงร้านเครื่องเขียนหรือร้าน Stationary ฟังดูแล้วเหมือนเป็นธุรกิจธรรมดาทั่วไป แต่จริง ๆ แล้วเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็ก ทั้งยังสามารถสร้างผลกำไรที่จับต้องได้
ขั้นตอนการเริ่มเปิดร้านจึงจำเป็นต้องวางแผนให้ดี วันนี้น้อง Multy ก็เลยแอบมาบอกเคล็ดลับที่ควรรู้ เมื่ออยากเปิดร้านเครื่องเขียน
1. สำรวจและศึกษาทำเลที่ตั้งร้าน
การเตรียมตัวเพิ่มเปิดร้านสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “สถานที่” สถานที่อย่างใจกลางเมือง ในย่านธุรกิจใกล้สถาบัน โรงเรียน มหาวิทยาลัย คือสถานที่ที่จะเจอกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าในร้านเครื่องเขียน
น้อง Multy อยากแนะนำให้ทุกคน อย่าลืมเข้าไปสำรวจสถานที่ ก่อนตัดสินใจลงทุนนะ เพื่อที่จะได้รู้จำนวนคนและกลุ่มลูกค้าที่เดินผ่านไปมา
อีกอย่างพื้นที่ของร้าน Stationary ก็ไม่ควรมีขนาดเล็ก เพื่อรองรับลูกค้าจำนวนมากและไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกอัดอัดในขณะที่ลองเลือกสินค้า
นอกจากนี้ร้านควรมีคลังสินค้าขนาดเล็กสำหรับจัดเก็บสต๊อกสินค้า เพื่อเติมในชั้นวาง
น้อง Multy ขอแนะนำว่าการสต็อกสินค้าและจัดทำระบบควรเริ่มทำตั้งแต่ช่วงเปิดร้านแรก ๆ เพราะติดตั้งง่ายและใช้งานง่าย สร้างความสะดวกในการทำธุรกิจให้กับร้านค้ามากขึ้น
2. สำรวจและเลือกแหล่งค้าส่งสินค้า
ในช่วงแรกเราอาจไม่ต้องลงทุนสูงมาก สัก 2-3 หมื่นบาทเป็นค่าสินค้า ซึ่งหากมีงบมากพอและทำเลที่ตั้งดี ก็ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนงบประมาณขึ้น โดยเราสามารถไปสังเกตสินค้าตามแผนกเครื่องเขียนของห้างสรรพสินค้าหรือร้านอื่น ๆ จะได้รู้ว่ากลุ่มลูกค้าที่จะซื้อสินค้าเหล่านี้เป็นใครบ้าง และทำให้แน่ใจได้มากยิ่งขึ้นว่ามีกลุ่มลูกค้าที่จะซื้อสินค้าที่เราตัดสินใจนำมาขายในร้านหรือไม่
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง การรู้กลุ่มเป้าหมายของร้านเครื่องเขียน ช่วยให้เราสามารถเลือกสินค้าที่จะนำมาขายในร้านได้ง่ายขึ้น รวมถึงการสร้างโปรโมชันต่าง ๆ อีกด้วย
3. เริ่มทำการขายหลังจากที่มีร้านและสินค้าแล้ว
ช่วงแรกของการขาย การตกแต่งหน้าร้านให้ดูแปลกตา โดดเด่น จะช่วยทำให้ลูกค้าอยากเข้ามาซื้อสินค้า และควรจัดวางสินค้าให้ลูกค้ารู้สึกว่ามีสินค้าหลากหลาย ทำให้เกิดการบอกกันปากต่อปาก
รู้หรือไม่!! การโฆษณาที่ได้ผลมากที่สุดวิธีนึง (Customer Advocacy)
4. หาสินค้าอื่น ๆ มาร่วมขาย
น้อง Multy ขอบอกเลยว่า ธุรกิจเครื่องเขียน ไม่จำเป็นจะต้องมีเครื่องเขียนเพียงอย่างเดียว เราสามารถนำสินค้าอื่น ๆ เข้ามาร่วมขาย เช่น กิ๊ฟช็อป เครื่องประดับ และสติกเกอร์น่ารัก ๆ มาวางขายไปพร้อมกัน ๆ ทำให้ร้านได้รายได้เพิ่มเติม นอกจากสินค้าหลักอย่างพวกเครื่องเขียน
ทีมของ Multy เองก็มีแบรนด์ให้เลือกเยอะมาก ไม่ซ้ำกับในตลาด แถมยังทำให้ร้านค้าไม่ต้องลงทุนค่าสต็อกเองด้วย
5. ระบบคิดเงินที่ใช้
ช่วงแรกของการเปิดร้าน ลูกค้ายังไม่มีจำนวนมากทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบดูแลเงินที่ซับซ้อน สามารถใช้เครื่องคิดเลขและบิลเงินสดเป็นอุปกรณ์แทนได้ค่ะ
การใช้ป้ายติดราคาในสินค้าทุก ๆ ชิ้นในร้านเอาไว้ เพื่อป้องกันการคิดเงินผิดพลาดก็เป็นอีกตัวช่วยนึง
ต่อมาเมื่อสินค้ามีจำนวนเยอะและหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งยอดขายดีขึ้น ก็อาจหาตัวช่วยเพิ่มเติม เป็นระบบคิดเงิน ระบบจัดการสต๊อกสินค้า หรือระบบบาร์โค้ดเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อให้ระบบการทำงานในร้านมีความสะดวกมากขึ้น
แต่หากต้องการทำธุรกิจที่ยั่งยืน การทำระบบตั้งแต่เริ่มแรก ย่อมทำให้สะดวกสบายต่อการตรวจสอบจำนวนสินค้าและราคา รวมทั้งสถิติต่าง ๆ มากกว่านะ
ทั้งหมดนี้คือคำแนะนำของน้อง Multy เมื่อต้องการเปิดร้านเครื่องเขียน ซึ่งนี่เป็นเพียงข้อแนะนำคร่าว ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากธุรกิจเครื่องเขียน
อย่าลืมนะ! น้อง Multy ยังสามารถช่วยเหลือคุณในเรื่องของระบบคิดเงินที่ใช้ในร้าน รวมถึงระบบจัดการร้านฝากขาย (Multi-brand Store) MULTIONE APP
ระบบจัดการร้าน Multi-brand และร้านค้าฝากขายของทีม MultiOne มีคุณภาพดีเยี่ยม ราคาเข้าถึงได้ และที่สำคัญคือบริหารจัดการได้อย่างสะดวกสบายทั้งของตัวร้านและแบรนด์เอง https://www.facebook.com/Multi1Platform