5 กลยุทธ์จัดโปรโมชั่นเรียกลูกค้า “แบบไม่ลดราคา”
การจัดโปรชั่น ลดราคาแรง ๆ หรือลดราคาเป็นประจำ แม้จะเป็นวิธีที่ช่วยกระตุ้นความรู้สึกของผู้บริโภค ให้อยากซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น และยังเป็นช่องทางที่ทำให้ลูกค้าหน้าใหม่อยากมาทดลอง อยากซื้อสินค้าของคุณ แต่ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่ง การจัดโปรโมชั่น ลดราคาแรง ๆ หรือลดราคาเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้านั้น หากมีการจัดการที่ดีไม่พอ อาจทำให้รายได้ที่ร้านค้าจะได้รับสวนทางได้ จากที่ต้องได้กำไร อาจทำให้ขาดทุนเพิ่ม.
Table of Contents
ทำไมจึงไม่ควรจัดโปรโมชั่นลดราคาแรง ๆ บ่อยจนเกินไป ?
การจัดโปรโมชั่น “แบบลดราคา” เป็นวิธีการที่แพร่หลายอย่างมาก และหลายคนคิดว่าได้ผลลัพธ์ดี ในแง่ของปริมาณการขายอาจจะใช่ แต่ถ้าเป็นในแง่ของรายได้ ที่ร้านค้าจะได้รับบางทีกลับสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ยิ่งจัดโปรโมชั่นลดราคามากเท่าไหร่ กำไรที่เราจะได้รับก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน แถมยังมีโอกาสทำให้สินค้าแบรนด์ของเรา คุณภาพดูลดลงเนื่องจากการลดราคาในปริมาณที่ถี่จนเกินไป อาจทำให้ลูกค้าคิดว่าสินค้าที่ลดราคานั้นกำลังจะหมดอายุ หรือเสื่อมคุณภาพได้ และถ้าหากคุณจัดโปรโฒชั่นเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อย่างโปรโมชั่น Mid year หรือ New year ด้วยสินค้าเดิม โปรเดิม ก็จะมีกลุ่มลูกค้าที่รอซื้อสินค้าช่วง “ลดราคา” และซื้อในปริมาณที่มาก ทำให้ไม่ต้องกลับมาซื้อสินค้านี้อีกครั้ง แค่รอให้ลดราคาอีกครั้งเท่านั้นเอง ซึ่งนั่นอาจทำให้เหมือนกับว่า คุณจัดทำโปรโมชั่นเพื่อดึงดูด ลูกค้าที่รอการซื้อของไปทีละเยอะ ๆ จนอาจทำให้สินค้าหมด และมีสินค้าไม่ถึงมือลูกค้าประจำแทน.
นอกจากนี้ การลดราคา อาจทำให้กระทบถึงความเชื่อใจของลูกค้า เพราะ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ต้อง คิดว่าสินค้าที่เอามาลดราคา จะเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยดี หรืออาจเป็นของค้างสต็อค การลดราคาในส่วนนี้อาจกระทบ ถึงร้านที่มีลูกค้าเพิ่มขึ้นจากการลดราคา แต่ก็อาจทำให้สูญเสียความไว้ใจได้ในระดับหนึ่งด้วย.
วันนี้ Multione จะมาแชร์ 5 กลยุทธ์จัดโปรโมชั่นเรียกลูกค้า “แบบไม่ลดราคา” จะมีอะไรบ้างไปดูกัน
1. การจัดโปรโมชั่น โดยใช้จิตวิทยาเป็นตัวช่วยในการกำหนดราคา
การตั้งราคาที่ดึงดูดลูกค้าให้สนใจสินค้า ไม่จำเป็นต้องลดราคาเสมอไป การนำหลักจิตวิทยามาใช้ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี โดยไม่กระทบกับกำไรของคุณ ตามหลักทฤษฏีจิตวิทยากล่าวไว้ว่า “สมองของคนส่วนใหญ่ เวลามองป้ายต่าง ๆ จะอ่านจากซ้ายไปขวา” ดังนั้น การกำหนดราคาสินค้าต่าง ๆ ในร้านค้าของคุณจึงควรใช้ ป้ายราคา ในการกำหนดตัวเลขเพื่อใช้จิตวิทยากับลูกค้าแทนการจัดโปรโมชั่น
การตั้งราคาแบบนี้เรียกว่า charming price หรือการลดราคาหลักสุดท้ายลงมาหนึ่งหน่วยเพื่อให้ราคาลงท้ายด้วยเลข 9 นั่นเป็นเพราะว่าโดยปกติแล้วสมองของเรารับรู้ราคาจากซ้ายไปขวา เช่น 100 มากกว่า 99 ทำให้เกิดการรับรู้ว่าราคาถูกลงกว่าเดิม (แม้ความจริงแล้วลดราคาไปเพียง 1 บาท) หรืออาจกล่าวได้ว่าการตั้งราคา 99 ทำให้จากราคา 100-1 บาท กลายเป็นราคาไม่ถึงหนึ่งร้อยบาทได้ จะเห็นได้ว่าการตั้งราคาแบบ charming price มีโอกาสทำให้คนซื้อเพิ่มขึ้นได้มากสุดถึงสองเท่า นั่นเป็นเพราะการรับรู้ราคาจากซ้ายไปขวาที่ว่ามานี่เอง ที่ทำให้ราคาที่ลดลงเพียง 1 หน่วยหรือ 1 บาทนั้น มีผลทำให้รับรู้ราคาถูกกว่าที่ควรจะเป็น.
นอกจากนี้ยังมีลูกค้าบางกลุ่มเชื่อว่าการตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9 โดยการใช้เทคนิค charming price นี้ เพราะคิดว่าผู้ผลิตน่าจะพยายามตั้งราคาให้ถูกที่สุดเท่าที่ทำได้แล้วอีกด้วย
2. การจัดโปรโมชั่น สะสมแต้ม เพื่อแลกรับรางวัล
สถานการณ์ปัจจุบันนี้ ทำให้มีการเพิ่มจำนวนของธุรกิจเปิดใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า มาพร้อมกับการแข่งขันอันดุเดือด ดังนั้น การทำให้ธุรกิจโดดเด่น ด้วยการทำโปรโมชั่น ท่ามกลางคู่แข่งขันที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การให้ส่วนลดในการซื้อสินค้าทันที แต่ลูกค้าอาจจะซื้อเพียงแค่หนึ่งครั้ง หากครั้งต่อไปที่เราไม่ได้ตั้งราคาสินค้าที่มีส่วนลด ลูกค้าอาจจะจดจำแบรนด์ของเราไม่ได้ การสะสมแต้ม เพื่อแลกรับรางวัลนั้น เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ช่วยจูงใจลูกค้า และช่วยสร้างการจดจำให้กับร้านหรือแบรนด์ของคุณอีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่ใช่วิธีใหม่ ๆ เพราะเรามักจะเห็นตามร้านเครื่องดื่มส่วนใหญ่ ทำการแจกบัตรสะสม ครบ 10 แก้วฟรี 1 แก้ว แต่ความจริงแล้ว วิธีการนี้ สามารถนำไปใช้ได้กับร้านค้าอื่น ๆ ด้วย เพียงลูกค้าซื้อสินค้าของทางร้าน ก็จะได้รับบัตรสะสมแต้ม และเมื่อสะสมแต้มครบตามที่ร้านกำหนด ลูกค้าสามารถแลกเป็นส่วนลด หรือรับรางวัลพิเศษได้ ซึ่งการได้รับแต้มของแต่ละร้านนั้น จะแตกต่างกันไป.
3. การจัดโปรโมชั่น “ที่ไม่มีส่วนลด” แต่เพิ่ม “บริการพิเศษ” แก่ลูกค้า
บางทีการให้บริการแบบพิเศษ หรือการได้รับสิ่งที่มากกว่าราคาสินค้าที่จ่ายไป อาจจะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และตอบโจทย์กว่าการจัดโปรโมชั่นลดราคา เพราะมันอาจจะเพิ่มมูลค่าให้สินค้าในร้านค้าของคุณได้ ยกตัวอย่าง บริการจัดส่งฟรีถึงบ้าน ยิ่งช่วงที่ผ่านมาคนไม่ค่อยอยากออกจากบ้านกันเป็นส่วนใหญ่ เลยเลือกที่จะช้อปปิ้งออนไลน์มากกว่า และสินค้าบางรายการนั้น อาจมีค่าส่งที่แพงกว่าราคาของสินค้า ทำให้ลูกค้าบางคน เลือกที่จะไม่ซื้อสินค้านั้น ๆ แต่หากเพียงแค่คุณจัดเพิ่มโปรโมชั่นนี้เข้าไป จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้อย่างมาก และยังกระตุ้นยอดขาย ความพึงพอใจ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจของคุณได้อีกด้วย.
4. ขายสินค้าแบบ Up-selling
Up-selling คือการขายที่ซับซ้อนขึ้น เพราะเป็นการเน้นขายสินค้า หรือบริการที่มีราคาสูงกว่าอีกชิ้นในกลุ่มสินค้าเดียวกัน ซึ่งสินค้าชิ้นนั้น จะต้องมีความพิเศษ หรือพรีเมี่ยมกว่าสินค้าที่ลูกค้ากำลังตัดสินใจอยู่ ดังนั้น หน้าที่ของผู้ขายคือ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า “การเพิ่มเงินเพียงไม่กี่บาท ทำให้ได้สินค้าพรีเมี่ยมกว่า โดยไม่รู้สึกเสียดายที่จะจ่ายเงินเพิ่ม” ซึ่งมีหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็น การจัดเซ็ทสินค้าแบบครบครันในราคาที่ถูกกว่า การพูดให้คำแนะนำ และโน้มน้าวใจให้ซื้อสินค้าอีกชิ้นหนึ่งในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม
5. มีนโยบายการคืนสินค้าที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ผู้คนมักซื้อของออนไลน์มากขึ้น และหลาย ๆคน ได้สินค้าที่ไม่ตรงปก หรือคุณภาพไม่ดี ทำให้การตัดสินใจซื้อสินค้านั้น ยากขึ้นกว่าเดิมมาก ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะขายสินค้าหน้าร้าน หรือออนไลน์ได้ดีแค่ไหน ก็ต้องมีสินค้าบางชิ้นที่ชำรุด หรือไม่ตรงความต้องการที่ลูกค้าต้องการจริง ๆ เช่น สีในรูปอาจจะไม่ตรงกับสินค้าจริง หรือไซส์ที่คิดว่าใส่พอดีแล้ว แต่หลังจากซื้อไปจริง ๆแล้วกลับใส่ไม่สบาย ดังนั้น ควรมีนโยบายการคืนสินค้า ที่มีความยืดหยุ่นให้กับลูกค้า เพื่อเพิ่มความมั่นใจ ความไว้ใจ และความประทับใจ ที่ลูกค้าจะมีให้เรา อย่างเช่น หลังจากรับสินค้า หรือซื้อสินค้าไปแล้ว สามารถคืนสินค้าได้ภายใน 7 วัน เป็นต้น.
ทั้งหมดนี้ เป็นแนวทางการจัดโปรโมชั่นเรียกลูกค้า “แบบไม่ลดราคา” ที่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้า และบริการของเรามากขึ้น จะเห็นได้ว่า การจัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นยอดขายไม่จำเป็นต้องลดราคาเสมอไป ซึ่งนอกจากไม่ต้องจัดส่วนลดแบบแรง ๆ หรือจัดส่วนลดเป็นประจำ ที่สร้างผลกระทบกับกำไรของธุรกิจคุณแล้ว คุณจะได้ความไว้วางใจจากลูกค้า การกระตุ้นยอดขายที่เพิ่มขึ้น และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจคุณ ในการจัดโปรโมชั่นแต่ละครั้ง อย่าลืมตั้งเป้าหมาย และจุดประสงค์ให้ชัดเจนด้วยนะ!!
หากสนใจร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ MultiOne คลิกที่นี่ เรามีแบรนด์สินค้า และ ร้านค้าพาร์ทเนอร์ ในระบบมากมายให้คุณเลือก พร้อมด้วยฟังก์ชั่นระบบหลังบ้านที่ครบครัน ช่วยให้การจัดโปรโมชั่นระหว่างร้านกับแบรนด์ เป็นเรื่องง่ายขึ้น.
และถ้าอยากติดตามการแนะนำของน้องมัลตี้ในเรื่องอื่น ๆ ล่ะก็ เข้าไปดูได้เลย ที่นี่ และ มารอติดตามกันว่า น้องมัลตี้จะเอาอะไรมาฝาก ในครั้งหน้าได้ ที่นี่