ทำไมถึงต้องเปลี่ยนมาเป็นร้าน Multi-Brand !?
ร้านมัลติแบรนด์ เทรนด์ยุคใหม่ที่หลายคนจับจ้อง เพราะอะไร ?? ทำไมร้านค้าถึงต้องเปลี่ยนมาเป็น ร้านมัลติแบรนด์ น้องมัลตี้จะพาทุกคนไปดูกัน!!!!
ปัจจุบันในเมื่อร้านค้า Online ได้รับความนิยมมาก จึงเป็นต้นกำเนิดของร้านที่จะนำ Brand สินค้าที่มีคุณภาพ ตรง Concept ของร้านมาลงฝากขาย โดยร้าน Multibrand จะได้รับรายได้จากการ “ให้เช่าพื้นที่ฝากขาย” หรือ “ค่า % คอมมิชชัน” ทางใดทางหนึ่ง หรือจะเก็บเป็นทั้งคู่จาก Brand เลยก็ได้
แบรนด์ออนไลน์ผลิตสินค้าออกมาก็ต้องการหาช่องทางที่จะขายสินค้าออกไป เพราะยุคนี้การขายออนไลน์ช่องทางเดียวก็คงไม่พออีกต่อไปหรือบางทีแบรนด์ออนไลน์อาจจะยังไม่พร้อมเปิดหน้าร้าน
พ่อค้าแม่ค้าหน้าร้านก็ต้องการที่จะหาของมาขาย ไม่ว่าจะเพราะที่ว่างในร้านเหลือ หรืออยากเพิ่มความหลากหลายของสินค้าภายในร้าน ความต้องการของทั้งคู่จึงมาพบเจอกัน เกิดเป็นโมเดลธุรกิจนี้ขึ้นมานั่นก็คือ !?
ร้านมัลติแบรนด์ (Multi-Brand Store) ร้านค้าที่รวบรวมสินค้าจากหลากหลายแบรนด์มาวางขายไว้ในร้านเดียว จุดเด่นหลักของร้านมัลติแบรนด์คือการมีสินค้าที่หลากหลายแต่ยังคงคอนเซ็ปต์ของร้านได้จากการเลือกแบรนด์ที่มีสินค้าสไตล์เดียวกันมาลงขาย เป็นแนวทางใหม่ที่ส่งผลดีและน่าสนใจในการขยายฐานลูกค้าหลักให้กับร้านค้า
ซึ่งร้านมัลติแบรนด์นั้นไม่ได้จำกัดแค่เพียง เสื้อผ้าแฟชั่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีทั้งสินค้าประเภท lifestyle cosmetic Handmade DIY และ stationery ที่ได้รวบรวมสารพัดสินค้าหลากสไตล์ หลายราคาไว้ด้วยกัน
Table of Contents
เทรนด์อีคอมเมิร์ซยุคใหม่ ยกร้าน Online สู่ On Shelves
[/vc_column_text]คนยุคใหม่ 2022 ถึงแม้จะช้อปออนไลน์กระจายแล้ว แต่ก็ยังขาดไม่ได้ที่จะไปช้อปต่อที่หน้าร้านค้า เกิดเป็นเทรนด์ของร้านรูปแบบ Multi-Brand ร้านค้าที่รวบรวมแบรนด์สินค้าชื่อดังบนโลกออนไลน์ไว้ด้วยกันในร้านเดียว ตอบโจทย์พฤติกรรมการชอปปิ้งแบบไร้รอยต่อของคนไทย ทำให้ยุคนี้เกิดร้านแบบ Multi-Brand อยู่เกือบทุกย่านในกรุงเทพฯ และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในต่างจังหวัด
พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของคนไทยในปี 2022
คนไทย 2 ใน 3 ซื้อของออนไลน์เป็นประจำมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ข้อมูลนี้ทำให้เห็นว่าคนไทยนั้นมีพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์รายสัปดาห์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโลก คือ 68.3% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทยที่มีอายุ 16-64 ปี ตามมาด้วยประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย เกาหลีใต้ เม็กซิโก และจีน น่าภูมิใจกับเรื่องนี้มากๆ ครับที่คนไทยซื้อของออนไลน์เป็นประจำทุกสัปดาห์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโลก
แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ มีผู้บริโภคจำนวนหนึ่งค้นหาสินค้าจากโซเชียลมีเดีย แต่ก็ยังชอบที่จะซื้อสินค้าหน้าร้าน เพราะมองว่า
- ได้ลองจับสินค้าด้วยตนเองว่าชอบหรือไม่
- ได้ของทันทีไม่ต้องรอรับจากไปรษณีย์
- ได้เดินชอปปิ้งดูของไปเรื่อยๆ สนุกในการดูสินค้าไปเรื่อยๆ
- ใช้บัตรเครดดิตได้ ผู้บริโภคบางคนรู้สึกไม่โอเคที่ต้องจ่ายเงินสดเป็นก้อน
ปกติร้านค้าออนไลน์จะมีพื้นที่ได้เจอลูกค้าบนโลกออฟไลน์ผ่านงานอีเวนต์ขายของต่างๆ ปัจจุบันมีหลากหลายอีเวนต์ในหลายๆ ทำเล แต่อีเวนต์ขายของก็ไม่มีบ่อยครั้ง ในตลาดชอปปิ้งเมืองไทยจึงเกิดร้านค้ารูปแบบ Multi-Brand ขึ้นมา เพื่อเป็นอีกทางเลือกที่เข้ามาตอบโจทย์ทำให้ลูกค้าได้ทดลองสินค้าด้วยตนเอง พลิกโอกาสร้านสินค้าหลากประเภทจาก Online สู่ On Shelves
ร้านมัลติแบรนด์ คือร้านค้าที่รวบรวมแบรนด์สินค้าจากออนไลน์ในอินสตาแกรม หรือเฟซบุ๊กหลากหลายแบรนด์ แต่ละแบรนด์ล้วนเป็นร้านดังๆ มีแฟนคลับ หรือมีผู้ติดตามจำนวนมากหลายหมื่นหลายแสน Multi-Brand Stores จึงกลายเป็นศูนย์รวมสินค้าแฟชั่นหรือเป็นห้างขนาดเล็กที่มีครบทุกอย่างตั้งแต่เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของการค้าขายในยุคนี้ ช่วยขยายโอกาสในการขายของให้แก่ร้านค้าออนไลน์ นำสินค้าสู่ช่องทางออฟไลน์ได้
จุดเริ่มต้นของ ร้านมัลติแบรนด์
ที่มาของร้านค้าในรูปแบบ Multi-Brand ร้านแรกๆ ก็คือ Collette เกิดขึ้นเมื่อปี 1997 ที่ประเทศฝรั่งเศส ส่วนทางฝั่งเอเชียมีร้าน ALAND ที่ประเทศเกาหลี เกิดเมื่อปี 2005
สำหรับในประเทศไทย ร้านแรกๆ คือ Wonder room เกิดเมื่อปี 2013 หลังจากนั้นก็มีหลายๆ ร้านตามมา เช่น ร้าน HOF จนเมื่อในปี 2015 ร้าน Multi-Brand Stores เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น เช่น ร้าน SOS และร้าน FAB LAB ที่ตอนนี้เป็นพาทเนอร์กับแพลตฟอร์มของเรา MultiOne
ส่วนในปัจจุบัน มีการเพิ่มขึ้นของจำนวน ร้านมัลติแบรนด์ เป็นจำนวนมาก และมีมากกว่า 30 ร้านค้า ที่เป็นพาทเนอร์ในการใช้งานและเชื่อว่าระบบ MultiOne นั้นตอบโจทย์กว่าระบบไหนๆ เช่น ร้าน with a day ตั้งอยู่ที่ ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ชั้น 3 มีแบรนด์ขายในร้านมากกว่า 200 แบรนด์, ร้าน FAB LAB ที่มีร้านกว่า 6 สาขา และมีแบรนด์มากกว่า 200 แบรนด์, และร้าน Case space, Here for something, mini mooddd, Note by you, Last house on the right และร้านค้าอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งบางร้านค้า ยอดขายต่อเดือนนั้นสูงถึงหลักล้านบาทเลยก็ยังมี
ส่วนใหญ่แล้ว ร้านมัลติแบรนด์ จะเลือกโลเคชั่นที่ตั้งที่อยู่ใจกลางเมือง หรือที่มีขาชอปอยู่เยอะ เช่น ห้างสรรพสินค้าดังๆ หรือที่มีวัยรุ่นอยู่เยอะ และมีการขยายไปตามห้างสรรพสินค้า หรือเช่าที่ที่อยู่รอบนอก เพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้า หรือเจาะกลุ่มลูกค้าให้ตรงตามประเภทสินค้าที่วางขายในร้านค้า
กลุ่มลูกค้าส่วนมากที่มักมาช้อปปิ้งร้านมัลติแบรนด์ ช่วงอายุจะอยู่ที่ 15-30 ปี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในการซื้อสินค้าต่อครั้งที่ตั้งแต่ 1,100-1,700 บาท ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าส่วนมาก เนี่ยงมากจากชอบแบรนด์สินค้าที่อยู่ในร้านที่ซึ่งมีชื่อเสียงในโลกออนไลน์มาก่อนอยู่แล้ว นอกจากนั้นสินค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อมาจากแบรนด์ดังใน ร้านมัลติแบรนด์ ราคาขายต่อจะมีมูลค่ามากกว่าสินค้าอัลแบรนด์อยู่มาก
ด้านเจ้าของแบรนด์สินค้า พบว่าเจ้าของแบรนด์ส่วนมากมองว่าการเปิดหน้าร้านของตัวเองมีอุปสรรคหลายด้าน
- ค่าใช้จ่ายสูง
- ต้องมีสินค้าหลากหลายแบบ และจำนวนมาก
- บริหารจัดการยุ่งยาก
- ต้องหาพนักงานประจำร้าน
จึงเป็นเหตุที่ให้แบรนด์ออนไลน์สนใจเข้าไปขายสินค้าในร้านมัลติแบรนด์ เพิ่มขึ้น เพราะร้านค้าตั้งอยู่ในทำเลทอง มีการจัดการสต๊อกสินค้าที่เป็นระบบ มีศักยภาพในการช่วยประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น
เมื่อเจาะพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้าแต่ละกลุ่ม เริ่มต้นที่อายุ 16-20 ปี มองว่าแบรนด์ที่อยู่ในร้านมัลติแบรนด์ มีราคาค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่เป็นสินค้ามีสไตล์หรูหรา ซึ่งตนเองมีรายได้ที่ไม่สูงอยู่แล้ว เพราะยังหารายได้เองไม่ได้ สินค้าจึงอาจจะไม่เหมาะกับการใส่ในชีวิตประจำวัน จะเลือกซื้อสินค้าที่ร้านมัลติแบรนด์ ก็ต่อเมื่อใส่ไปงานพิเศษต่างๆ
กลุ่มลูกค้าเป็นวัยที่เริ่มมีรายได้เป็นของตัวเองแล้ว เป็นกลุ่มที่เพิ่งเริ่มทำงาน มองว่าสินค้าในร้านมีราคาค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับคุณภาพก็ถือว่าเหมาะสม ยอมรับได้กับราคา และจะเลือกซื้อสินค้าจากร้านมัลติแบรนด์ ก็ต่อเมื่อเวลาไปออกงานต่างๆ
กลุ่มลูกค้าวัยทำงาน มองว่าคุณภาพของสินค้าในร้านมัลติแบรนด์ เป็นสินค้ามีคุณภาพดี ดีกว่าสินค้าจากร้านค้า Fast Fashion อย่าง Zara และ H&M เสียอีก คุ้มค่ากับราคา อาจจะเลือกใส่สินค้าจาก Fast Fashion ในวันทำงาน และเลือกใส่สินค้าจากร้านมัลติแบรนด์ ในวันหยุด หรือวันท่องเที่ยว วันพิเศษต่างๆ
พฤติกรรมการช้อปปิ้งของเหล่านักช้อปที่มีความเหมือนกัน และน่าสนใจ ก็คือ มีการวางแผนก่อนที่จะเดินเข้าร้านและตัดสินใจซื้ออยู่แล้ว และมีการติดตามแบรนด์จากโลกออนไลน์ก่อนหน้านี้ เมื่อแบรนด์มีการอัปเดตสินค้าใหม่ๆ ก็จะไปทดลองที่ร้าน และไปตามซื้อที่ร้าน แต่บางครั้งก็ได้ของติดไม้ติดมือมากกว่าที่วางแผนไว้ และทุกครั้งที่ซื้อแบรนด์ใหม่ๆ นอกเหนือจากที่วางแผนไว้ ก็จะติดตามแบรนด์นั้นๆ ต่อในโซเชียลมีเดีย และถ้าพอใจในสินค้าก็จะซื้อต่อที่ออนไลน์
ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าที่ร้านมัลติแบรนด์ นั้นพบว่ามีการใช้จ่ายมากกว่าซื้อออนไลน์ถึง 30%
รูปแบบร้านมัลติแบรนด์ นับว่าตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้ค่อนข้างครบ ยิ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบหาข้อมูล หรือติดตามสินค้าจากช่องทางโซเชียลมีเดียก่อน แล้วค่อยมาเลือกสินค้าที่หน้าร้านจริง ได้ผลประโยชน์ทั้งผู้ประกอบการ และแบรนด์สินค้าเอง ทางแบรนด์ได้ช่องทางการขายเพิ่ม ได้ห้องลองสินค้า ได้ช่องทางที่พูดคุยกับลูกค้าเพิ่ม ส่วนทางผู้ประกอบการร้านได้รวบรวมร้านเด่นๆ ดังๆ มีแฟนคลับอยู่แล้ว ไม่ต้องเสียเวลาในการโปรโมตร้านมากมาย เนื่องจากร้านค้าหลายๆ ร้านมีพลังที่จะโปรโมตกับทางแฟนๆ อยู่แล้ว
จุดเด่นของร้านค้านั้น กลุ่มลูกค้าผู้บริโภคทั่วไปที่เข้ามาที่ร้านจะได้ทุกอย่างครบตั้งแต่หัวจรดเท้า มีตั้งแต่เสื้อผ้า เดรส เครื่องสำอาง หมวก เครื่องประดับ กระเป๋า รองเท้า เรียกว่าลูกค้ามาร้านก็เพื่อมาหาช้อปปิ้งเสื้อผ้าที่เดียวแล้วได้ครบทุกอย่าง
ส่วนทางด้านของแบรนด์สินค้า ทางร้านมีเป้าหมายว่าต้องการเติบโตไปพร้อมๆกับแบรนด์ นอกจากเป็นหน้าร้านให้แล้ว ยังช่วยทำการตลาดออนไลน์ให้ด้วย ช่วยโปรโมท มีการทำสตูดิโอถ่ายรูปสินค้าโปรโมทให้แบรนด์ฟรี ทางร้านจะดูแลเรื่องการขายให้หมดตั้งแต่ต้นจนจบ
ความยากที่สุดของการทำร้านเป็นเรื่องของคน บุคลากร ต้องบริการจัดการคนให้ดี จะเจอปัญหาหนักก็คือพนักงานขายมักจะหายตัวไปเฉยๆ ไม่บอกไม่กล่าว ทำให้หาคนไม่ทัน และยุคนี้พบว่ามีเด็กๆ จำนวนไม่น้อยที่ไม่อยากทำงานประจำ พอทำได้สักพักก็ไม่อยากทำ ความท้าทายจึงต้องบริการจัดการให้ดี ใส่ใจความสุขของพนักงาน ปัจจุบันมีการบริหารที่ดีขึ้น มีการหาพนักงานพาร์ทไทม์มาเติมเพื่อแก้ปัญหาคนทำงานหายได้
คำแนะนำสำหรับคนที่ต้องการจะนำแบรนด์เข้าร้านมัลติแบรนด์ สำคัญคือต้องสร้างแบรนด์ของตนเองให้ดีก่อน หลายคนคิดว่าการฝากขายร้านมัลติแบรนด์ คือนำมาวางแล้วจะขายได้ ขายดี แต่จริงๆ แล้วเป็นแค่อีกหนึ่งช่องทางเท่านั้น ไม่มีใครให้ความสนใจสินค้าที่ไม่ดีไม่ว่าจะนำไปวางขายที่ไหน แบรนด์ต้องสร้างตัวตน ทำการตลาด และพัฒนาอยู่สม่ำเสมอทั้งออนไลน์ และหน้าร้าน เรื่องทำเลที่ตั้งก็สำคัญ ต้องเลือกสาขาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ด้วย
ข้อสงสัย 5 ข้อ ว่าการเปิดร้านมัลติแบรนด์ ดียังไง แล้วทำไมร้านค้าส่วนใหญ่จึงเลือกเปลี่ยนมารับฝากขายมากขึ้น
บทความอ้างอิง https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-ecommerce-thai-2022-digital-stat-we-are-social/