10 ขั้นตอน การจัดการคลังสินค้าให้มีมาตรฐาน ไม่อยากให้คลังสินค้ามีปัญหาต้องรู้!!
ในแง่มุมของการทำธุรกิจนั้น การจะทำให้ธุรกิจร้านค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่างก็มีวิธีการที่หลากหลายและขั้นตอนที่แตกต่างออกกันไป แต่ปัจจัยอีกอย่างที่เจ้าของร้านจะมองข้ามไม่ได้เลย คือ การจัดการคลังสินค้า ให้มีมาตรฐานนั่นเอง ซึ่งการบริหารจัดการสินค้าคงคลังถือว่าเป็นงานที่ยากมากสำหรับเจ้าของกิจการ เพราะเมื่อธุรกิจเติบโตมากขึ้น จำนวนสินค้าในคลังก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ถ้ามีการจัดการคลังที่ดีแล้ว นอกจากจะจัดระเบียบ ยังช่วยควบคุมให้ทุกอย่างภายในคลังสินค้ามีประสิทธิภาพอีกด้วย
Table of Contents
ความหมายของสินค้าคงคลัง (Inventory goods definition)
สินค้าคงคลัง หรือสินค้าคงเหลือ หมายถึง วัสดุหรือสินค้าทั้งหมดที่มีสำรองไว้เพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบันหรือในอนาคต เพื่อการใช้งาน เพื่อการบริหาร เพื่อการผลิต และเพื่อการจัดจำหน่ายในอนาคต
สินค้าคงคลังไม่ได้มีแค่เพียงสินค้าสำเร็จรูปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสินค้าคงคลังระหว่างดำเนินการ วัตถุดิบ และเครื่องมือคงคลังที่ซื้อมาเก็บไว้เพื่อรอการผลิตสินค้า ดังนั้นจึงควรบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้ดี หากสินค้าคงคลังมีจำนวนมากเกินไปหรือน้อยเกินไปย่อมส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและธุรกิจ จึงจำเป็นต้องมีวิธีการจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสมกับธุรกิจเรานั่นเอง
การจัดการคลังสินค้า คืออะไร? (Storage Management)
การจัดการคลังสินค้า คือ กระบวนการจัดระเบียบแลควบคุมตั้งแต่การนำสินค้าเข้าคลัง จนถึงการนำออกไปขายหรือบริโภค จัดการทรัพยากรต่างๆ ในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ไว้ใช้ในปัจจุบัน หรือในอนาคตข้างหน้า เพื่อให้การดำเนินการของธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น ผ่านการวางแผนและกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสม โดยจะครอบคุมตั้งแต่ การสั่งซื้อและคาดการณ์จำนวนสั่งซื้อสินค้า, การรับสินค้าเข้ามาในคลัง, การจัดการสินค้าคงคลัง, การจัดส่งและติดตามสินค้า, การบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในคลัง, การติดตามและพัฒนาประสิทธิภาพของคลังสินค้า, การปรับปรุงตำแหน่งจัดวางสินค้าและการขนย้ายสินค้า และอื่นๆ อีกมากมาย
วัตถุประสงค์ของ การจัดการคลังสินค้า (Objective of storage management)
วัตถุประสงค์ของการจัดการคลังสินค้า หลักๆ แล้วก็คือ เพื่อการลดขั้นตอนการทำงานในการเคลื่อนย้ายสินค้าให้มากที่สุด การใช้พื้นที่จัดเก็บภายในคลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด การใช้พนักงาน เครื่องมือในการเคลื่อนย้าย และจัดเก็บให้เหมาะสม สอดคล้องกับเนื้องาน รวมทั้งทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการควบคุมจำนวน การดูแลรักษาสินค้า และอุปกรณ์ ภายในต้นทุนที่จำกัดตามขนาดคลังสินค้าของธุรกิจ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย
ความสำคัญของการจัดการคลังสินค้า ทำไมถึงต้องมี?
หากร้านค้าของคุณมีการบริหารจัดการคลังสินค้า ที่ได้มาตรฐาน จะทำให้คุณลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการทำงานสำหรับการจัดการสินค้าคงคลัง ทราบปริมาณสินค้าคงคลังของแต่ละรายการอย่างรวดเร็วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ลดการสูญเสียและความเสียหายระหว่างกระบวนการการจัดเก็บสินค้า หากมีการบริหารจัดการคลังสินค้าที่ถูกต้อง การรายงานคลังสินค้า การรายงานกำไรขาดทุนก็จะคิดคำนวณออกมาถูกต้องได้ง่ายอีกด้วย
ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า (Storage management’s benefits)
- ช่วยประหยัดค่าขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก
- ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนแปลผัน (Variable cost)
- ช่วยป้องกันสินค้าหมดคลังจากการวางแผนล่วงหน้า
- ช่วยให้บริการลูกค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่นขึ้น
- ช่วยให้มีความพร้อมตอบโต้การเปลี่ยนแปลงของตลาด
- ช่วยให้ลดขั้นตอนการจัดการโปรโมชั่นสินค้า
10 ขั้นตอน การจัดการคลังสินค้าให้มีมาตรฐาน ไม่อยากให้คลังสินค้ามีปัญหาต้องรู้ !!
การรับสินค้าเข้าสู่สต็อก (Goods Receive and Identify)
ขั้นตอนแรกสำหรับ การจัดการคลังสินค้าให้ได้มาตรฐาน คือ การรับสินค้าเข้าสู่สต็อกซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุดในการจัดการคลัง ซึ่งผู้ประกอบการต้องทำการตรวจสอบว่าได้รับสินค้าที่ถูกต้องหรือไม่ ในจำนวนและเวลาที่ถูกต้องตามจำนวนที่ได้สั่งเข้ามาหรือไม่ สินค้าที่ได้รับมานั้นได้รับความเสียหายภายในหรือจากการขนส่งรึป่าว หากไม่ระมัดระวังในการตรวจสอบ อาจทำให้การนำสินค้าเข้าสู่สต็อกไม่ถูกต้องและเกิดปัญหาตามมาได้ ดังนั้นการรับสินค้าเข้าสต็อกอย่างระมัดระวังจะช่วยคัดกรองสินค้าที่ชำรุด หลีกเลี่ยงปัญหาการสูญเสีย และความเสียหายต่อร้านเมื่อขายของในภายหลังได้
การจัดเก็บสินค้าสู่สต็อก (Put away)
ขั้นตอนลำดับต่อมาหลังรับสินค้าเข้าสู่สต็อก คือการจัดเก็บสินค้าในสต็อก ซึ่งเป็นกระบวนการที่มักจะถูกมองข้ามใน การบริหารจัดการคลังสินค้า แต่เป็นขั้นตอนที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การจัดการคลังสินค้า ให้ดีขึ้นได้ ซึ่งร้านจะต้องจัดวางสินค้าในคลังแต่ละประเภทให้เหมาะสมกัน
การจะจัดเรียงสินค้าขึ้นชั้นวางในคลังสินค้า แนะนำให้วางสินค้าประเภทเดียวกันบนชั้นเดียวกันเพื่อความสะดวกรวดเร็ว เพื่อประหยัดเวลาในการค้นหา และลดความสับสนเมื่อต้องการสินค้า จะช่วยให้การบริหารจัดการคลังสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีพื้นที่ในคลังไม่มากพอ สามารถปรับเปลี่ยนวางสินค้าที่แตกต่างกันในแต่ละชั้นแถวตามความเหมาะสมได้
การจัดประเภทและจัดเก็บสินค้าในสต็อก (Classify and holding goods)
การรวบรวมสินค้าในสต็อก ถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายแพงที่สุดในการบริหารจัดการคลังสินค้า ถ้าคุณมีวิธีการปรับให้เหมาะสม จะสามารถลดต้นทุนของร้านค้าได้มาก ลดความสับสนของสินค้าแต่ละประเภทและช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ ซึ่งหากคุณมีการจัดเก็บสินค้าที่ดี การรวบรวมสินค้า แยกประเภทในการเก็บรักษา และการจัดการกับสินค้าที่เสื่อมสภาพจะทำได้ง่ายขึ้น
ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีในการรวบรวมสินค้า
- การรวมสินค้าตามคำสั่ง: ถ้ามีคำสั่งซื้อ พนักงานจะพิมพ์คำสั่งซื้อและส่งต่อกับพนักงานฝ่ายคลังสินค้าเพื่อไปเอาสินค้าในใบสั่งซื้อ ซึ่งเหมาะสำหรับร้านค้าธุรกิจขนาดเล็ก เนื่องจากมีคำสั่งซื้อที่น้อยต่อวัน
- การรวมสินค้าแบบกลุ่ม: ทำการจัดกลุ่มคำสั่งซื้อหลายรายการเข้าไว้ด้วยกัน จากนั้นจึงส่งออกไฟล์รายการสินค้าที่มีปริมาณ พนักงานจะไปเอาสินค้าตามจำนวน จากนั้นจะแบ่งตามออเดอร์ เหมาะสำหรับธุรกิจร้านค้าที่มีคำสั่งซื้อจำนวนมากเพื่อสามารถทำราบการคำสั่งซื้อจำนวนมากได้พร้อมกัน
การแพ็คสินค้าและส่งออกสินค้า (Packing and Shipping)
การแพ็คสินค้า ช่วยให้คุณรวบรวมสินค้าในแต่ละคำสั่งซื้อ หลังจากเอาสินค้าและเตรียมจัดส่งให้กับลูกค้า
ขั้นตอนนี้มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งต้องจัดการอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดอย่างการนำส่งสินค้าคืน
การแพ็คสินค้าของแต่ละร้านอาจจะมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ความเหมาะสม แต่ข้อสำคัญหลักๆ ที่ห้ามละเลยมีดังนี้
- ต้องประกันความปลอดภัย และลดความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งให้ได้มากที่สุด
- เลือกปริมาณของกล่องพัสดุเพื่อลดต้นทุนการจัดส่ง
เมื่อคุณแพ็คสินค้าเสร็จสิ้นจะต้องส่งมอบให้กับหน่วยจัดส่ง สินค้าจะถูกบันทึกว่าถูกส่งออกจากสต็อกแล้ว และหักออกจากปริมาณสินค้าคงคลังนั่นเอง
การส่งสินค้าคืน (Dispatch goods)
แม้ว่าคุณจะแพ็คสินค้าดีแค่ไหน แต่ความจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คือ การส่งสินค้าคืนยังมีโอกาสเกิดขึ้นอยู่เสมอ ลูกค้าสามารถส่งคืนสินค้าอันเนื่องมาจากเหตุผลต่างๆ มากมายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น สินค้าอาจมีตำหนิ สินค้ามีปัญหาภายใน หรือไม่ตรงกับความคาดหวังของลูกค้า
ขั้นตอนการส่งคืนสินค้าจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อลูกค้าร้องขอการส่งสินค้าคืน หลังจากที่ได้รับคำขอของลูกค้า ใบสั่งส่งคืนจะถูกสร้างขึ้น
แต่มีก็มีข้อควรปฏิบัติของการจัดการคลังสินค้าเมื่อส่งคืนสินค้า
- ลูกค้าที่ส่งสินค้าคืน ควรปฏิบัติตามข้อกำหนด เงื่อนไขการคืนสินค้าของร้านค้า และระบุสาเหตุให้ชัดเจน ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ควรได้รับการบันทึกเป็นเอกสาร เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมเพื่อลดอัตราการคืนสินค้า
- ยอดขาย และกำไรของสินค้าที่ต้องส่งคืนจะต้องถูกหักออกด้วย จึงควรส่งคืนให้กับร้านค้า
การตรวจสอบสินค้า (Inventory count)
หนึ่งในขั้นตอนการบริหารจัดการคลังสินค้าที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ คือ การตรวจสอบสินค้า ซึ่งกิจกรรมนี้ไม่ได้ทำเมื่อเกิดการสูญหายของสินค้าถึงจะต้องไปตรวจสอบ หรือเมื่อพบปัญหา เพียงแค่คุณตรวจสอบให้แน่ใจว่าคลังสินค้าได้รับการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ เรียบร้อย การตรวจสอบสินค้าคงคลังจะได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วด้วยระบบการจัดการคลังสินค้า ด้วยเครื่องสแกนบาร์โค้ด เพียงคุณสแกนบาร์โค้ดบนสินค้าแต่ละอันก็สามารถนับจำนวนจริงในสต็อกได้ง่าย ๆ
การจัดทำรายงานสถิติ (Report)
สถิติจะรายงานภาพรวมของคลังสินค้า จะให้ภาพรวมของกระบวนการบริหารจัดการคลังสินค้าแก่คุณทำให้คุณสามารถประเมินได้ว่าควรทำการตลาดแบบไหนจากการดูสถิติ แต่หากคุณเป็นเจ้าของร้านมือใหม่ที่อยากจะบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีมาตรฐาน และทำได้ง่ายๆ เรามี MultiOne platform ระบบจัดการร้านค้าช่วยให้การจัดการคลังสินค้าทำได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้หากต้องการจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องทำยังไงบ้าง?
การจัดการพื้นที่คลังสินค้าให้เป็นระเบียบ
ขั้นแรกต้องเขียนแผนผังของคลังสินค้าให้เหมาะสมจะต้องมีความสมดุลระหว่างสองสิ่งนั่นก็คือขนาดคลังสินค้า และพื้นที่ในการเคลื่อนย้าย โดยจะมีการแบ่งพื้นที่ในการใช้งานตามนี้ก็คือ
- พื้นที่เคลื่อนย้ายสำหรับการรับสินค้าใหม่เข้ามาในคลัง
- พื้นที่สำหรับวางเพื่อการตรวจสอบสินค้าที่เข้ามาใหม่
- สำนักงานสำหรับพนักงานคลังสินค้า
- พื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้าแต่ละประเภท
- พื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้าส่วนเกิน, สินค้าค้างสต๊อก, หรือสินค้าหมดอายุ
- พื้นที่สำหรับเก็บบรรจุภัณฑ์และแพ็คสินค้าเพื่อเตรียมส่ง
- บริเวณขนส่งสินค้าขาออกสำหรับพนักงานส่งหรือบริษัทขนส่งที่เข้ามารับสินค้า
หากอ่านทั้งหมดแล้วรู้สึกว่าการมีหลายพื้นที่จนยุ่งยาก หลายขั้นตอนในการจัดการโครงสร้างพื้นที่ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลไป เพราะในบางขั้นตอนอาจไม่จำเป็นต่อโครงสร้างบริษัทคุณก็เป็นได้เพียงแต่คุณจัดระเบียบโซนงานที่จำเป็น และเกี่ยวข้องกันไว้ไกล้กัน เป็นระบบระเบียบต่องานต่อไป ทำให้การทำงานราบรื่นขึ้น เป็นประโยชน์ต่อพนักงาน และการดำเนินงานโดยรวมป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาล่วงหน้าให้มีความเหมาะสม ก่อนที่จะดำเนินงานในพื้นที่แล้ว ก็จะทำให้การดำเนินงานภายในคลังสินค้าของคุณมีระเบียบ และสะดวกในการใช้พื้นที่มากขึ้นก็จะส่งผลให้พนักงานที่เกี่ยวข้องเกิดความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้นได้
Tips: การจัดพื้นที่คลังสินค้านั้นเรื่องการเคลื่อนย้ายสินค้า และอุปกรณ์ต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างมาก บริษัทควรคำนึงถึงพื้นที่ว่างระหว่างชั้นวางสินค้า บรรจุภัณฑ์ โต๊ะทำงาน และโซนรับส่งสินค้าให้มีขนาดพอดีต่อการเคลื่อนย้ายหรือหยิบจับในการตรวจเช็คจำนวนสินค้า เพราะจะช่วยลดอุบัติเหตุ และปัญหาอื่นๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มาก
การใช้ป้ายกำกับติดในคลังสินค้า
การตั้งชื่อตำแหน่งต่างๆ ของสต๊อกสินค้าให้มีป้ายกำกับชัดเจนจะทำให้พนักงานตรวจสอบสินค้าผ่านระบบได้ง่ายในกรณีที่มีสินค้าจำนวนมากหลายประเภทผ่านการกำหนดโซนสินค้าในระบบสินค้า
Tips: การกำหนดชื่อป้ายกำกับเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจมักจะใช้ตัวอักษรผสมกับตัวเลขเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ แบ่งแยก และเรียงโซนสินค้าให้เป็นระเบียบ เช่น กำหนดชื่อชั้นของสต๊อก ชื่อแถว และแต่ละตำแหน่งของแถว
การจัดเรียงตำแหน่งสินค้าคงคลัง
จากการวิจัยของธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่วนมากพบว่ายอดขายส่วนมากของบริษัทจะมากจากสินค้าที่ขายดีเพียง 20% เท่านั้น ที่จะทำกำไรให้บริษัทได้สูงสุด ซึ่งการจัดวางตำแหน่งสินค้าที่ขายดีรวมไว้ด้วยกันไว้ไกล้กับตำแหน่งแพ็คสินค้านั้น จะทำให้ลดระยะเวลาการดำเนินงานได้อย่างมาก
Tips: การจัดวางตำแหน่งสินค้าคงคลังนั้นหลักๆ แล้วจะแบ่งสินค้าออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ นั่นก็คือ
- สินค้าที่มียอดขายจำนวนมาก
- สินค้ามูลค่าสูง สร้างกำไรได้มาก
- สินค้าที่ขายได้ไม่มาก และกำไรน้อย
จากการกำหนดประเภทสินค้าแล้วมักจะเลือกนำสินค้าที่มียอดขายสูงสุดไว้ไกล้กับตำแหน่งแพ็คสินค้า และรองลงมาคือสินค้าที่มีมูลค่าสูง สร้างกำไรได้มาก โดยสินค้าที่มีน้ำหนักเบามักจะวางไว้ชั้นบนๆ และสินค้าที่มีน้ำหนักมากวางไว้ชั้นล่างของชั้นวางสินค้า ซึ่งจะเป็นการง่ายต่อการหยิบ และเคลื่อนย้ายสินค้าได้มาก
อุปกรณ์ในคลังสินค้าต้องเหมาะสมต่องาน
การจัดการคลังสินค้านั้น อุปกรณ์หลักที่ต้องเลือกให้เหมาะสมนั้นมีหลายอย่างที่ทุกคลังสินค้าควรมีไม่ว่าจะเป็น
- กล่องใส่สินค้า ส่วนมากมักจะใช้วัสดุเป็นพลาสติกเพื่อน้ำหนักที่ไม่มากจนเกินไป และใส่สินค้าจำนวนหนึ่งได้พอดีเพื่อความสะดวกในการเก็บ หรือเคลื่อนย้ายสินค้า
- โต๊ะแพ็คสินค้า ที่จะมีความหนาและใหญ่พอเหมาะตามลักษณะของงานแพ็คสินค้า เพื่อให้สามารถทำงานแพ็คสินค้าทุกขั้นตอนได้ในที่เดียว
- วัสดุที่ใช้แพ็คสินค้า ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์ พลาสติกกันกระแทก และการเสียดสีของสินค้า รวมไปถึงประเภทของ เทปกาว คัตเตอร์ หรือกรรไกรที่ควรจะมีขนาดที่เหมาะสมกับประเภทของสินค้า
- คอมพิวเตอร์/เครื่องปริ้น สำหรับอัพเดทจำนวน สถานะของสินค้า และพร้อมทั้งปริ้นเอกสารที่เกี่ยวข้องเช่น ใบคำสั่งซื้อ ใบส่งของ หรือป้ายกำกับต่างๆ
- เครื่องชั่งสินค้า ที่ใช้ในการชั่งน้ำหนังสินค้าที่นำเข้ามาในคลัง และส่งออกเพื่อคำนวนค่าใช้จ่ายในการส่ง พร้อมบันทึกข้อมูล
แร็คหรือชั้นวางสินค้านั้นก็สำคัญมากเช่นกันที่นอกจากจะต้องแข็งแรงแล้วก็จะต้องเลือกรูปแบบ และขนาดให้เข้ากับรูปแบบของสินค้า แล้วหากมีสินค้าจำนวนมากหรือมีน้ำหนักมากแล้วนั้นก็ควรจะมีพาเรทกับ Hand Lift หรือรถเข็นสินค้า เพื่อให้สะดวกต่อการขนย้ายสินค้าอีกด้วย
บทความอ้างอิง
What is Warehouse Management by shipbob.com
จัดการคลังสินค้าอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด by pnsteelproduct.com
การควบคุมคลังสินค้า มีหลักการอย่างไร by prosoftwinspeed.com
บทความแนะนำ
- 10 ข้อควรรู้ก่อนเปิดร้านขายของ ไม่อยากเปิดมาแล้วขาดทุนต้องทำยังไง ?
- 5 เคล็ดลับการจัดการกระแสเงินสดของร้านค้าให้มีประสิทธิภาพ
- ก่อนที่จะรับ ฝากขายสินค้า ร้านค้าควรจะรู้อะไรบ้าง ?
- จะเปิดหน้าร้านทั้งที ควรเลือกทำเลที่ตั้งแบบไหนดีนะ
- วิธีมัดใจลูกค้า เปลี่ยนจากขาจร มาเป็นลูกค้าประจำ
MultiOne Platform เพื่อนที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจคุณ
แพลตฟอร์มจัดการร้านมัลติแบรนด์ ร้านค้าปลีกและร้านค้ารับฝากขายสินค้าจากหลายแบรนด์ ที่จะมาช่วยให้การจัดการร้านค้าสะดวกสบายขึ้น ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน ลดความผิดพลาดการจัดการสินค้า เพิ่มรายได้ และประเภทของสินค้าภายในร้าน จากการรับฝากขายสินค้าจากแบรนด์ดังในระบบ
แหล่งพบปะของร้านค้าออนไลน์ และออฟไลน์ พาร์ทเนอร์ที่ช่วยให้คุณขายได้มากขึ้น ผ่านการฝากขายยุคใหม่
การันตีด้วยพาร์ทเนอร์ร้านค้าดัง ขายดีที่ใช้ระบบมากกว่า 30 ร้านค้า และแบรนด์ดังที่ฝากขายผ่านระบบมากกว่า 2,000 แบรนด์
ระบบฟังก์ชันหลักสำหรับร้านค้าพาร์ทเนอร์ของ MultiOne ที่ช่วยให้การบริหารจัดการร้านค้าเป็นเรื่องง่าย
- ระบบ POS แคชเชียร์และจัดการร้านค้าใช้งานง่าย
- จัดการสต็อกสินค้า แยกรายแบรนด์ เช็คสะดวก
- ร้านจัดการส่วนลด โปรโมชั่นร่วมกับแบรนด์ได้หลากหลาย
- ออกบาร์โค้ด เชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องยิงบาร์โค้ด
- มีระบบการใช้งานสำหรับพนักงาน
- ออกเอกสารทางบัญชี
- ระบบ Import Export ข้อมูล
- จัดการข้อมูลลูกค้า และสินค้า
- ระบบวิเคราะห์ข้อมูลยอดขายรายวัน รายเดือน แยกรายแบรนด์
- วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและช่องทางจำหน่าย
และเรายังมีฟังก์ชันอีกมากมายสำหรับแบรนด์สินค้าที่มาลงฝากขาย ด้วยระบบที่ออกแบบมาให้ร้านค้าเจอกับแบรนด์ง่ายขึ้น ลดขั้นตอนการส่ง เช็ค และจัดการสินค้าฝากขาย ร้านค้าสามารถเลือกพาร์ทเนอร์ที่เหมาะสมกับหน้าร้านของคุณได้ง่าย ๆ ผ่านระบบบนแพลตฟอร์มของเรา
สนใจเป็นร้านค้าพาร์ทเนอร์ คลิกที่นี่ (https://multioneapp.com/shoppage/)
สนใจลงฝากขายสินค้า คลิกที่นี่ (https://multioneapp.com/brandpage/)
หรือ INBOX สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยที่ MultiOne (https://bit.ly/3GwfF4d)